การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 กับกระบวนการการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ วัด ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชาวบ้าน จำนวน 377 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาทธรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 กับกระบวนการการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์ คือ 1) ประกาศนโยบาย 2) กำหนดคณะกรรมการ 3) อบรมให้ความรู้ 4) สำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผังวัด และวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการพัฒนา 5) จัดทำแผนปรับปรุง 6) ลงมือปฏิบัติ และ 7) สรุปผลการดำเนินงาน
Article Details
References
นิพนธ์ โอภาษี. (2557). การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฝ่ายสาธารณูปการ มหาเถรสมาคม. (2563). คู่มือแลแนวปฏิบัติโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ (แซ่หลี). (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ด้วยการขับเคลื่อน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราเชนทร์ วิสารโท และคณะ (2560). ศึกษารูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทศาสนาจังหวัดนครสวรรค์. (2562). โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พัฒนาวัดตามแนวทาง 5ส จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: สำนักงานพระพุทศาสนาจังหวัดนครสวรรค์.