การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ไอ (CIPPI Model) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ใช้บัณฑิต ผู้สอน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและนักศึกษาที่กำลังศึกษา รวมจำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบทหลักสูตร พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสม โดยโครงสร้างหลักสูตร มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างรายวิชามีความเหมาะสมและสอดคล้อง รายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรมีความเหมาะสมตามกาลสมัย
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก อาจารย์ให้คำแนะนํา ปรึกษาในการปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนํามาประกอบการเรียนรู้ในห้องเรียน ควรปรับปรุงระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เอกสาร หนังสือ ตำรา ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีบรรยากาศเรียนรู้แบบร่วมมือกัน มีการจัดการเรียนรู้ที่ดีเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ มีการปฏิบัติการวิจัยทางด้านหลักสูตรและการสอนที่เน้นการนํา ทรัพยากรท้องถิ่นมาพัฒนาหลักสูตร
4. ด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความรู้ความเข้าใจและเชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน สามารถปฏิบัติงานเป็นศึกษานิเทศก์ หรือนักพัฒนาหลักสูตร หรือฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา ผู้สอนสามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านการศึกษาหลักสูตรและการสอน
5. ด้านผลกระทบ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้ง ในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถนำความรู้ด้านหลักสูตรและการสอนไปเผยแพร่ต่อบุคคลอื่นได้
Article Details
References
ชญากาณฑ์ ขันธ์แก้ว. (2560). การศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ชลชลิตา แตงนารา. (2562). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 5 ปี (หลักสูตรปรับปรุง 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารพิกุล. 17 (1), 35-42.
ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2561). วิจัยประเมินหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 10 (1), 123-140.
ประดิษฐ์ ศรีโนนยาง และคณะ. (2563). การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย. Journal of Modern Learning Development. 5 (5), 188-189.
เพ็ญนภา กุลนภาดลและคณะ. (2563). การวิจัยประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15 (2), 133-143.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบโดยใช้รูปแบบ CIPP Model. คู่มือการประเมินหลักสูตรระดับบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร และการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วชิระ จันทราช. (2554). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากร. 3 (1,2), 64-78.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุมิตร คุณานุกร. (2518). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chandra, Arvinda. (1977). Curriculum development and evaluation in education. New Delhi: Sterling Publishers Private Ltd.
Beauchamp, R.H. (1975). Education in Japan : A Source Book. New York : Garland.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation: Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass.