กลวิธีการนิพนธ์ในบทละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

Main Article Content

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้คือการศึกษากลวิธีการนิพนธ์ของบทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและเรื่องรุ่งฟ้าดอยสิงห์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาคือบทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและเรื่องรุ่งฟ้าดอยสิงห์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2500 ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงพระศพของพระองค์ ช่วงที่พระองค์หญิงฯ ยังทรงพระชมน์นั้นได้ทรงนิพนธ์บทละครขึ้นมาทั้งสิ้น  2 เรื่อง คือ เรื่องปันหยีมิสาหรัง ซึ่งดัดแปลงจากหนังสือแปลเรื่องอิเหนาฉบับดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และเรื่องรุ่งฟ้าดอยสิงห์ซึ่งพระองค์ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ผู้วิจัยพบกลวิธีการนิพนธ์บทละครทั้งสองเรื่องด้วยกันทั้งสิ้น 6 หัวข้อ คือ กลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง กลวิธีการดำเนินเรื่อง กลวิธีการลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง กลวิธีการสร้างความต่อเนื่องระหว่างฉาก กลวิธีการนำเสนอเนื้อหา  และกลวิธีการสร้างความตลกขบขัน การเปิดเรื่องแต่ละฉากใช้วิธีการบรรยาย การเล่าเรื่องตามด้วยการบรรเลงเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์  ตัวละครมีความรู้สึก อารมณ์และการกระทำที่ชัดเจน การดำเนินเรื่องเป็นไปตามลำดับเหตุการณ์ ในด้านของการใช้ถ้อยคำภาษา ผู้นิพนธ์เลือกใช้ภาษาที่มีลักษณะภาษาพูด ซึ่งเหมาะกับประเภทของบทละครและกลุ่มคนที่รับชม ภาษาที่ใช้จึงกระชับเข้าใจง่ายและมีการดำเนินเรื่องไปอย่างอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2521). วรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2522). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

เฉลิมเขตรมงคล, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2500). บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรัง และรุ่งฟ้าดอยสิงห์. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล วันที่ 26 มิถุนายน 2500.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2557). ปันหยีมิสาหรัง : บทละครเรื่องอิเหนาอีกสำนวนหนึ่งของไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 39 (3), 214-236.