ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามสถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการวางแผนการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน โดยนักเรียน 1 คน ต่อผู้ปกครอง 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบอัตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบค่า t-test และค่า F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการตัดสินใจเลือกโรงเรียนศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของผู้ปกครอง โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =3.96, S.D.=0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านอาคารสถานที่และการจัดสภาพแวดล้อม ( =4.11, S.D.=0.74) รองลงมาคือ ด้านการอำนวยความสะดวกและการบริการ ( =4.06, S.D.=0.74) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ( =3.95, S.D.=0.74) ด้านการบริหารจัดการวิชาการและชื่อเสียงของโรงเรียน( =3.96, S.D.=0.65) ด้านการคมนาคม ( =3.87, S.D.=0.74) ด้านค่าใช้จ่ายบุคคล ( =3.84, S.D.=0.76) ตามลำดับ 2. ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และจำนวนบุตร ตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. แนวทางในการวางแผนการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ดังนี้ 1) โรงเรียนควรมีกิจกรรมการเรียนปรับพื้นฐานความรู้ให้กับนักเรียนใหม่ทุกคน 2) โรงเรียนควรมีช่องทางในการติดต่อได้หลากหลายวิธี 3) โรงเรียนควรมีห้องเรียนที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน 4) โรงเรียนควรมีการแจ้งข่าวสารให้ชุมชนได้รู้ข้อมูลของทางโรงเรียนในหลาย ๆ วิธี 5) โรงเรียนควรจัดบริการรถรับ-ส่งนักเรียนในสถานที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง และ 6) โรงเรียนควรจัดสรรเงินทุนการศึกษาให้นักเรียนอย่างทั่วถึง
Article Details
References
จุฬาลักษณ์ ใจโน. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเวียงเทิง (เทิงทำนุประชา) อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ลชนา ชมตระกูล. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
วิมล ปั้นสวย. (2541). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้นักเรียนเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนดาราวิทยาลัย. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิไลพร วงศ์ฤทธิ์. (2547). การปฏิบัติงานวิชาการของครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). รายงานประจำปี 2553. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Krejcie, R. V. & Morgan, E. (1970). Determining sample Size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.