ปัจจัยที่มีผลต่อการรับนักศึกษาจบใหม่ในยุคโควิดของบริษัทมหาชนในประเทศไทย

Main Article Content

ศรัญภร ศิลปประเสริฐ
หทัยชนก วงศ์กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการรับนักศึกษาจบใหม่ในยุคโควิดของบริษัทมหาชนในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับนักศึกษาจบใหม่ในยุคโควิดของบริษัทมหาชนในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 729 คน โดยดำเนินการสุ่มแบบชั้น ด้วยตารางเคซี่และมอร์แกน การสุ่มแบบง่าย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 248 คน ได้แก่ หัวหน้างานฝ่ายบุคคล จำแนกเป็น 4  ข้อ โดยหัวหน้างานฝ่ายบุคคลของบริษัทมหาชนในประเทศไทย เป็นหญิงและชาย คิดเป็นร้อยละ 58.97 และ ร้อยละ 41.03 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.28  มีระดับการศึกษาปริญญาโท ร้อยละ 51.28 มีประสบการณ์ในการทำงาน 11-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.15 เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า
          1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการรับนักศึกษาจบใหม่ในยุคโควิดของบริษัทมหาชนในประเทศไทย พบว่า ทุกรายด้าน อยู่ในระดับมาก ( =3.68, SD=0.7192) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการรับนักศึกษาจบใหม่ในยุคโควิดของบริษัทมหาชนในประเทศไทย พบว่า (1) ความคิดสร้างสรรค์ ( =3.81, SD=0.6837), (2) การปรับตัว ( =3.60, SD=0.7563), (3) การจูงใจคน ( =3.62, SD=0.7780), (4) การทำงานร่วมกับผู้อื่น ( =3.62, SD=0.6725), (5) ความฉลาดทางอารมณ์ ( =3.49, SD=0.7514), (6) การบริหารเวลา ( =3.75, SD=0.5822), (7) การวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ( =3.64, SD=0.6892), (8) การสื่อสาร ( =3.75, SD=0.7563), (9) การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  ( =3.79, SD=0.77460), (10) การตัดสินใจ  ( =3.73, SD=0.7474)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุษกร วัฒนบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจยวิชาการ. 4 (1), 87-94.

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลกรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการเขตภาคกลางในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (3), 133-141