แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

บุญยิ่ง ประทุม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว 2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว ศึกษาแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในตำบลกะทูน จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ระหว่าง 0.66-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับคือ 0.944
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้สูงอายุ ประชาชนที่อยู่บริเวณโครงการอ่างเก็บน้ำ
และนักท่องเที่ยว จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต
และนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์
          ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง
( =2.98, S.D.=0.08) ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การดำเนินการและการปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง
( =3.32, S.D.=0.07) รองลงมาคือ การเสนอความคิดการวางแผนและการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง
( =2.93, S.D.=0.08) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.74, S.D.=0.06) ส่วนแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า 1) การคิดวางแผนและการตัดสินใจเพื่อค้นหาสาเหตุปัญหาในงานพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยว 2) การดำเนินการและการปฏิบัติการเพื่อประสานงาน ช่วยเหลือ และร่วมดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว 3) การรับและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้น้ำเพื่อทำสวนผลไม้ ใช้น้ำในหน้าแล้ง ประมง และค้าขายแก่นักท่องเที่ยวเพื่ออาชีพและรายได้ และ 4) การติดตามและประเมินผลเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ติดตามความก้าวหน้า ปรับปรุง หรือหาแนวทางพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหาธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

เทศบาลตำบลกะทูน. (2560). ประวัติความเป็นมาของกะทูน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2560. แหล่งที่มา: http://www.kathuncity.go.th/history.php

ธาวิษ ถนอมจิตศ์ และ เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความรู้แก่เยาวชนในเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมรดกโลกเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15 (2), 35-45.

ปิยวิทย์ เอี่ยมพริ้ง. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุสาหกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 4 (2), 26-47.

พัฒนสรณ์ เกียรติฐิติคุณ, ยุทธนา ประณีต และสุรพล สุยะพรหม. (2558). รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4 (3), 105-120.

พิชญา เจริญใจ และชื่นชนก โควินท์. (2560). บทบาทของสถาบันอาชีวศึกษาในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม ตามมุมมองของภาคีการท่องเที่ยว. An Online Journal of Education. 9 (2), 618-628.

มาโนช พรหมปัญโญ. (2556). แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8 (2), 36-47.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และภาคภูมิ ภัควิภาส. (2554). ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของ ชาวชุมชนแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7 (3), 51-62.

รุ่งวิทย์ ตรีกุล, กมล เสวตสมบูรณ์ และธนชาติ เราประเสริฐ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนบึงพลาญชัย

ในการจัดการ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น. 8 (2), 133-150.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). โครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2560. แหล่งที่มา: http://km.rdpb.go.th/Project/View/7776.

สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร. (2554). การปรับตัวและการจัดการวิถีการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 30 (2), 1-8.

อธิพงศ์ กาวิตา. (2555). การวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อนขนาดเล็กโดยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์. เชียงใหม่: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรทัย ก๊กผล. (2546). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิปริญญาโทสำหรับนักบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Makmee, P. (2016). Research Design for Mixed Method Research. Journal of the Association of Researchers. 21 (2), 19-31.