การศึกษาผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

ปริณุต ไชยนิชย์
สมพงษ์ เกษานุช

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวโน้มการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ระดับความพึงพอใจสำหรับอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่สอนในรายวิชาศาสตร์แห่งการเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศาสตร์แห่งการเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ จำนวน 4 ห้อง ห้องละ 15 คน รวมจำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบประเมินบุคลิกภาพประชาธิปไตย 2) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับอาจารย์ผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มในการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยที่ชัดเจนมากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยมีการพัฒนาบุคลิกภาพทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งหมด 2) อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ธนรัช.

นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2546). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมต วรรณบวร, สุรพล สุยะพรหม และ บุษกร วัฒนบุตร. (2560). ความเป็นพลเมืองเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น. วารสาร มจร สังมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2), 85-100.

ประไพลิน จันทน์หอม. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศิลปศึกษา). คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริณุต ไชยนิชย์ และคณะ. (2563). การพัฒนาสื่อสร้างแรงบันดาลใจด้วยกระบวนการในการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ตามรอยพระองค์ท่านผ่านครูสู่ห้องเรียน: สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 3 (1), 51-64.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9 (2), 169-176.

วิทยา พัฒนเมธดา. (2560). การจัดการเรียนรู้ (Learning Management). ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.kansuksa.com/8/ [26 กรกฎาคม 2564]

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาโรช บัวศรี. (2520). ความหมายของประชาธิปไตยในแง่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศน์ กรมการฝึกหัดครู.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2548). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548. (อัดสำเนา)

Ricoeur, Paul. (1979). “The Model of the text: Meaningful Action Considered asa Text”, 73-101. In Paul Rabinow and William M. Sullivan, eds., Interpretive Social Science. Berkeley: University of California Press.