รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวม 374 คน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล ใน 4 ด้าน คือ วิสัยทัศน์ร่วม ความเชื่อและค่านิยม ทีมเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านความเชื่อและค่านิยมมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ วิธีการพัฒนา การวัดและประเมินผล เงื่อนไขการใช้รูปแบบ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จุลลี่ ศรีษะโคตร และ วัลลภา อารีรัตน์. (2558). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38 (1), 26-36.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ในยุคปฏิรูปการศึกษา.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นิตติยา เหง้าโอสา. (2564). การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (3), 116-131.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:
สุวีริยาสาส์น.
พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และ ปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6 (2), 128-134.
ภาชินี ภักดีมี. (2562). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เมธาสิทธิ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : แนวทางปฏิบัติสำหรับครู. วารสาร
วิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2 (2), 214-228.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC).
วิถีสร้างครูสู่ศิษย์: เอกสารประมวลแนวคิด และแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงาน
โครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน. 1-10.
ลีลาวดี รอดแล้ว, พิมผกา ธรรมสิทธิ์ และ วจี ปัญญาใส. (2564). แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (7), 31-46.
วิจารณ์ พานิช. (2555). การเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังข์ทอง และ ชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 12 (2), 123-134.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). เส้นทางสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลกิจ ออฟเซทการพิมพ์.
สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียน ประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). รายงานการประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2553 : ปัญหาความเสมอภาค
และคุณภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: วีทีซีคอมมิวนิเคชั่น.
DuFour, R. (2007). Professional learning communities : A bandwagon, an idea worth considering, or our best hope for high levels of learning?. Middle School Journal (J1), 39 (1), 4-8.
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities : Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory.
Thompson, S. C., Gregg, L., & Niska, J. (2004). Professional learning communities, leadership, and student learning. Research in Middle Level Education. 28 (1), 1-15.