การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านเชิงวิชาการโดยใช้แนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ ในการพัฒนาความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษทางวิชาการ กลวิธีการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา

Main Article Content

ฉัตรปวีณ อำภา
วิสาข์ จัติวัตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอน 2) ศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนรู้ 3) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหา 4) ศึกษาความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภาคเรียนที่ 2 เทอม 2563 จำนวน 30 คน โดยเป็นตัวแทนประชากร เครื่องมือที่ใช้คือ 1) รูปแบบการสอน 2) แบบสอบถาม 3) แบบวัดกลวิธีการเรียนรู้ 4) แบบวัดความสามารถในการอ่าน 5) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที (t-test) พบว่า
          1. การพัฒนารูปแบบการสอนมี 5 องค์ประกอบหลัก และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล มีขั้นตอน 5 ขั้น ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมความพร้อม 2. ขั้นการนำเสนอ 3. ขั้นปฏิบัติ 4. ขั้นการประเมินตนเอง และ5. ขั้นขยาย และประสิทธิภาพเท่ากับ 03/80.47
          2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่าน พบว่า คะแนนการอ่านหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 78 และการหาใจความสำคัญใช้มากที่สุด ร้อยละ 4.73
          3. การใช้กลวิธีการเรียนรู้มากที่สุด คือ การอนุมาน โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.00) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.459)
          4. การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังใช้รูปแบบ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          5. ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58
          6. การรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.30


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7-20

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพิมล ทรงประดิษฐ์. (2541). การสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ภาพการ์ตูนประกอบบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Anderson, N. J. (2003). Metacognitive reading strategies increase L2 performance. The Language Teacher. 27, 20-22.

Bisland, A (2004). Using learning strategies instruction with students who are gifted and learning disabled. Gifted Child Today. 2 (3), 52-58.

Bowden, J., & Marton, F. (2000). The university of learning. London: Kogan, page 49.

Braten, I., & Samuelstuen, M.S. (2007). Measuring strategic processing: comparing task specific self-reports to traces. Metacognition and Learning. 2, 1–20.

Broussard, S.C., & Garrison, M.E.B. (2004). The relationship between classroom motivation and academic achievement in elementary school-aged children. Family and Consumer Sciences Research Journal. 33 (2), 106-120.

Chamot, A. U. (2005). The Cognitive Academic Language Learning Approach (CALLA): An update. In P. A. Richard-Amato & M. A. Snow (Eds.). Academic success For English language learners: Strategies for K-12 mainstream teachers, p. 87-102. White Plains NY: Longman.

Chamot, A. U. (2007). Accelerating academic achievement of English language learners: A synthesis of five evaluations of the CALLA Model. In J. Cummins & C. Davison (Eds.) The international handbook of English language learning, Part I, p. 317-331. Norwell, MA: Springer Publications.

Clump, M. A., Bauer, H. & Bradley, C. (2004). The extent to which Psychology students read textbooks: A multiple class analysis of reading across the Psychology curriculum. Journal of Instructional Psychology. 31, 227-229.

Docktor, J.L. and Heller, K. (2009). Assessment of student problem solving processes, in Proceedings of the Physics Education Research Conference 2009. edited by M. Sabella, C. Henderson, and C. Singh (AIP Conference Proceedings 1179, Melville, NY, pp. 133–136.

Evensen, D. H., Salisbury-Glennon, J., & Glenn, J. (2001). A qualitative study of 6 medical students in a problem-based curriculum: Towards a situated model of self-regulation. Journal of Educational Psychology. 93, 659–676.

Huang, H., Chern, C. & Lin, C. (2009). EFL Learners’ Use of Online Reading Strategies and Comprehension of Texts. An Exploratory Study, Computers and Education. 52, 13-26.

Koda, K. (2007). Reading and language learning: Cross linguistic constraints on second language reading development. Language Learning. 57 (1), 1–44.

McKenna, M.C. (2001). Development of reading attitudes. In Verhoeven, L. & Snow, C.E. Literacy and Motivation. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, pp. 135-176.

Mokhtari, K., & Reichard, C. (2002). Assessing students' metacognitive awareness of reading strategies. Journal of Educational Psychology. 94 (2), 249-259.

Mastan, W. and Teo, A. (2017). Students’ Preference for Teachers’ Motivational Strategies and their Perception of their Own Motivation toward Learning English: A Case of Private Vocational Colleges. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities and Arts. 17 (1), 161-186.

Pelaez, N. J. (2002). Problem-Based Writing with Peer Review Improves Academic Performance in Physiology. Advances in Physiology Education. 26 (3), 174–184.