ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี

Main Article Content

ธนพัฒน์ ลิ้มไพบูลย์
นิพนธ์ วรรณเวช
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี และเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 331 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร และด้านความยืดหยุ่น ด้านความร่วมมือ และด้านจินตนาการและนวัตกรรม
          2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกตุสุดา กิ้งการจร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรราชมงคลธัญบุรี.

คะนึงนิตย์ กิจวิธี. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5 (1), 33-40.

ธีระ รุญเจริญ. (2556). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ความเป็นจริงและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ไพเราะ พัดตาสิงห์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ภารดี อนันต์นาวี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันตก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30 (2), 44-53.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (1), 261-271.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 2843-2854.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (o-net) ปีการศึกษา 2561. สุพรรณบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. (2564). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 พ.ศ. 2563-2565. สุพรรณบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

อัจฉรา นิยมาภา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชากรของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (สทมส.). 24 (1), 50-63.

อารี กังสานุกูล. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, J. W. (1981). Research in education. Englewood cliff: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Likert, R. (1976). Management styles and the human component. New York: AMACOM.