การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

Main Article Content

สุรีรัตน์ ยอดบุรี
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน  86 คนและครูวิชาการจำนวน 86 คนจากจำนวน 86 โรงเรียนรวมทั้งสิ้นจำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาพัฒนาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก = 3.64 และS.D. = 0.32 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการกำกับดูแลคุณภาพอยู่ในระดับมาก = 3.90 และS.D. = 0.37  รองลงมาคือด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมากและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการส่งเสริมสนับสนุนอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านการกำกับดูแลคุณภาพผู้บริหารควรมีการดำเนินการพัฒนาการบริหารงานหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของคณะครูการปฏิบัติงานตามวงจรคุณภาพ PDCA วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อหาข้อดีข้อเสียแนวทางปรับปรุงผลการดำเนินงานและมีการติดตามประเมินผลงานอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เกิดคุณภาพ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาข้ันพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(รสพ).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่สพฐ 293/2551 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและครุภัณฑ์.

คมคาย ภิญโญ. (2553 ). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.

บุญชม ศรีสะอาด. ( 2560 ). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร : แนวคิดกระบวนการและการใช้ผลการประเมิน.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 8 (1), 13-28.

พิมลกรอง อุปถะ. (2556). การศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สุภิญญา ถาพรผาด. (2551). ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุริยา ทองจรัส. (2559). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 . วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. ( 2561). รายงานการปฏิบัติงานการนิเทศการศึกษา ปีการศึกษา 2561. กำแพงเพชร: กลุ่มนโยบายและแผน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2562) นโยบายและจุดเน้นเพื่อการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ. กำแพงเพชร: กลุ่มนโยบายและแผน.

อุดมพร ภูหลักถิน. (2550). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.