ประเพณีชักพระ : การบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านคลองขุดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

Main Article Content

ฤทัยพรรณ ทองจับ
ในตะวัน กำหอม

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีชักพระและเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้บูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้รู้คือกลุ่มบุคคลที่มีข้อมูลเชิงลึกในด้านประวัติสาสตร์ประเพณีวัฒนธรรมพิธีกรรมสังคม 2. กลุ่มผู้ปฏิบัติคือครูนักเรียนชาวบ้านผู้ที่เคยเข้าร่วมงานประเพณีชักพระ 3.กลุ่มบุคคลทั่วไปคือประชาชนทั่วไปที่เคยรับรู้หรือที่เคยร่วมในงานประเพณีชักพระการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูลคือแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อยและการประชุมเชิงปฏิบัติการ
          ผลการศึกษาพบว่าประวัติความเป็นมาพิธีกรรมวัฒนธรรมสังคมประเพณีชักพระ นำบูรณาการการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 5 ขั้นตอนคือ 1.การบริหารจัดการการเรียนการสอน 2. การจัดรายวิชา 3. การจัดการเรียนการสอน 4 .การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดประเด็น 2) รวบรมหลักฐาน 3) การวิเคราะห์ตีความประเมินหลักฐาน 4) สรุปเชื่อมโยงข้อเท็จจริง 5) นำเสนอข้อเท็จจริง 5. การประเมินจากการตรวจผลงานนักเรียนแสดงได้ว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอนเป็นอย่างดีโดยการบูรณาการประเพณีชักพระสามารถนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในประเพณีชักพระนักเรียนกลุ่มสารการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมรายวิชาประวัติศาสตร์เข้าใจหวงแหนประเพณีท้องถิ่นและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรม. (2563). การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านคลองขุด. สตูล: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร. 32 (4), 139-146.

ขวัญธิรัศม์ ทิพย์บุญทรัพย์. (2562). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทับวัง. หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยทองสุข.

ธนสันต์ ปานแก้ว และ รงค์ บุญสวยขวัญ. (2557). ประเพณีชักพระทางทะเล อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 4 (3), 114-123.

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยประยุกต์ทางวัฒนธรรม. เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยทองสุข

พระไชยยา พิณบรรเลง. (2552). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระเรือบก จังหวัดเพชรบุรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาฐิติพงศ์ ชูจิตต์. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการมีส่วนร่วมในการสงวนรักษาประเพณีชักพระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพิมล สีไหม. (2553). การส่งเสริมประเพณีชักพระ ของเทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ และ ชวลิต ขอดศิริ. (2560). การบูรณาการการเรียนการสอนด้วยวิธีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวัฒนธรรมไทย. 36 (9), 2-4.

สุพัตรา คงขำ และ เครือวัลย์ คงขำ. (2561). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านการชักแห่เรือพระบกของตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 10 (2), 277-288.

สุภัทรา อักกะมานัง. (2554). รูปแบบการจัด การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น. สาขาวิจัยและพัฒนากลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.