บทบาทการบริหารแบบส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

สำเนียง ชูชีพ
ถนัด นัยต์ทอง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับบทบาทต่อการบริหารแบบส่วนร่วม และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทต่อการบริหารแบบส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก  จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครองประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก  จังหวัดอ่างทองจำนวน ทั้งหมด 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติในการแจกแจง F- test
          ผลการศึกษาพบว่า ส่วนมากมีวุฒิการศึกษาระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี บทบาทต่อการบริหารแบบส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีความคิดเห็นอันดับที่ 1 คือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผลการเปรียบเทียบความแตกต่างบทบาทต่อการบริหารแบบส่วนร่วมโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดลนภา ฐิตะวรรณ และ ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6 (2), 447-458.

ในตะวัน กำหอม. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยทองสุข.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ.ศึกษาแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงาน วิจัยการมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

เสกศักดิ์ การวินพฤติ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศิรินทร์รัตน์ ทองปาน. (2544). รูปแบบและบทบาทการทีส่วนร่วมที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง:ศึกษาเฉพาะกรณีของผู้ปกครองที่เป็นกรรมการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.