ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีต่อการบริหารโรงเรียน วัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีต่อการบริหาร โรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมี ด้านการสร้างแรงบัลดาลใจ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาและด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจก
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดของโรงเรียนวัดยกกระบัตร(ชุบราษฎร์นุสรณ์) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แบบเจาะจง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับประมาณค่า ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าดัชนีสอดคล้อง 0.60 – 1.00 และมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า f และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’
ผลจากพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีต่อการบริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่าอันดับที่ 1 คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมีรองลงมาคือด้านการสร้างแรงบัลดาลใจ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาและอันดับสุดท้ายคือด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจก ตามลำดับผลการเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (scheffe’) จำแนกตามประเภทของการบริหาร พบว่า บุคลากรทางการศึกษา ด้านงานวิชาการกับ ด้านการบริหารงานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่แตกต่างกันทุกด้าน
Article Details
References
เกียรติศักดิ์ ลำพองชาติ. (2563). ทักษะการทำงานในโลกยุคดิจิทัล. กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา สำนักวิชาการ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และ เสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา : องค์กรไอทีและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล.กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิททยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ในตะวัน กำหอม. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยทองสุข.
ประภาส วรรณทอง. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธ. วารสารการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6 (2), 112-126.
ปาณัสม์ มภูยาละ. (2563). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 10 (1), 131-144.
มะลิวรรณ์ ภูแช่มโชติ. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 1. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิทธิพงษ์ ใจผูก. (2547). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของข้าราชการครูระดับผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอำเภอเมืองเชียงราย. เชียงราย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักวิจัยแห่งชาติ.
อาริยา สุขโต. (2561). การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลไทยแลนด์. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ.