ปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พิมพ์ยุภา ชนะอัยยรัชต์
ชุติมา พรหมผุย
สุวัฒนพงษ์ ร่มศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ ประเภทวิชา และรายได้ผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3  ในปีการศึกษา  2563  จำนวนทั้งสิ้น 464 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test)
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. การตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก
         2. เปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ ประเภทวิชา และรายได้ผู้ปกครอง
              2.1 เปรียบเทียบการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านค่านิยมทางการศึกษาของผู้ปกครอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
               2.2  เปรียบเทียบการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประเภทวิชา พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้น ด้านทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ ไม่แตกต่างกัน
               2.3  เปรียบเทียบการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกรายได้ของผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรี ทองแก้ว. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ฉัตรชัย อินทสังข์. (2552). ความต้องการศึกษาต่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. ม.ป.ท.

นิภาวรรณ ชนะสงคราม. (2552). การตัดสินใจเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปริยานุช สายธนู. (2552). มูลเหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยธาริน วรสินวัฒนา. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กรณีศึกษา นักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. บุรีรัมย์: วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์.

ไวริทธิ์นันท์ ศรีตะวัน. (2555). การตัดสินใจศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิกจำกัด.

อุไรวรรณ ปุณณะเวส. (2551). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจของนักเรียนที่เลือกเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจวิทยาลัยการอาชีพเสนาและวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Duke, C. (1990). Adult education and development. Germany: Berlin, Druck Center Meckenheim.

Fantini, M., & Weinstein, G. (1972). Students motivational goals and beliefs about effort and ability as they relate to college academic success. New York: Harper & Row.

Sewell, W. H., Hauser, R. M., Wolf, R. (1972). Causes and consequences of higher Education : models of the status attainment process. American Journal of Agricultural Economics, 54(5), 851-861.

Yamane, T. (1970). Statistic: An introductory analysis. Tokyo: Harper International Edition.