การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องระบบสุริยะและดาวบริวาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พัทธ์ธีรา เพชรหิรัญพงศ์
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบ สุริยะและดาวบริวาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะและดาวบริวาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเผดิมศึกษา คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 24คน ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะและดาวบริวาร 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง ระบบสุริยะและดาวบริวาร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะและดาวบริวาร ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะและดาวบริวาร มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะและดาวบริวาร หลังเรียน( = 21.04, S.D = 5.805) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 17.67, S.D = 6.183) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ

สุจิตรา เชื้อกุล (2559). ศึกษาการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ร่วมกับการจัดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ .มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และสังคมไทยต้องไปด้วยกัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564 . แหล่งที่มา: https://www.tsri. or.th/th/news/content/587

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนา การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2554). การศึกษาสมรรถนะผู้สอนออนไลน์ ในการศึกษาทางไกลด้วยอีเลิร์นนิง กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). หลักการออกแบบและสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์

ล้วน และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาน์ส.

อุทุมพร จามรมาน. (2540). ข้อสอบ: การสร้างและการพัฒนา = Test items: construction and Development. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.

Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online and traditional learning. London: Kogan Page.