ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ธนาวุฒิ คำศรีสุข
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ จากการศึกษาพบว่าการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมีปัญหาและอุปสรรคในหลายด้าน เช่น โครงสร้างการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กระบวนการสรรหาบุคลากร การขาดแคลนบุคลากร และระบบอุปถัมภ์ อันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่มีคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายระดับ ซึ่งก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ ทำให้กระบวนการบริหารงานบุคคลเกิดความล่าช้า และปัญหาระเบียบและกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลแก่ผู้บริหารท้องถิ่นมากเกินไป ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บุคคลที่ไม่มีคุณภาพ กระทบต่อคุณภาพของการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดแคลนบุคลากรในสายงานต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้บุคลากรหนึ่งคนต้องปฏิบัติงานหลายหน้าที่ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว และหาวิธีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงไกร ปัญญาพงศธร. (2561). การคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย : ศึกษากรณีเทศบาลนคร. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5 (1), 55-62.

คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2560). รายงานประจำปี 2560. สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.

คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2562). รายงานประจำปี 2562. สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560. (2560, กุมภาพันธ์ 21). ราชกิจจานุเบกษา. 134 ตอนพิเศษ 54 ง. 109-110.

ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์. (2561). มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์การบริหารส่วนตำบล: ความคิดเห็นของกำนันและผู้ใหญ่บ้านจังหวัดลำปาง. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 7 (2), 542-567.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542. (2542, พฤศจิกายน 29). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 120 ก. หน้า 1.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, ตุลาคม 11). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, สิงหาคม 24). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1/1.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน 40 ก. หน้า 1.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. (2550). ร่วมคิด ร่วมปฏิรูป การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. สถาบันพระปกเกล้า.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (ม.ป.ป.). หน่วยที่ 7 การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/หน่วยที่%207.pdf .

สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. (2547). หมวดที่ 4 องค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 4 การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. สถาบันพระปกเกล้า : 69-70.

สุรพงษ์ แสงเรณู และคณะ. (2559). ผลกระทบการทุจริตประพฤติมิชอบในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารธรรมทรรศน์. 16 (2), 45-57.

แสวง สำราญดี. (2563). การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7 (2), 551-574.

อภิรัตน์ วงศ์ประไพโรจน์ และ พรชัย เลื่อนฉวี. (2557). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 3 (1), 1013-1025.