ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ณัฐรัฐ ธนธิติกร

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศของผู้ปกครองและช่วงชั้นของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในเรื่องนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางขนาดของกลุ่มตัวอย่างและประชากรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มโดยการทดสอบค่า t-test
          ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศ และช่วงชั้นของนักเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา ภักดี, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และ ปาริชาติ สุภิมารส. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าขาม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (11), 329-341.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์

ณิชา พิทยาพงศกร. (2520). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/05/ desirable-new-normal-for-thailand-education/

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะ โควิด2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น.7 (4), 323-333.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://library.parliament.go.th/sites/default/files/assets/files/works/academic%20office/radio%20scripts/pdf/2563-06/NALT-radioscript-rr2563-jun5.pdf.

พาณิภัค สุขศิริ และ พัชรพิมล สุขสมจิตร ฟอกซ์. (2556). ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอเกาะยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 9 (2), 83-90.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. Journal of Arts Management. 4 (3). 783-795.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด 19 : จะเปิด – ปิดโรงเรียนอย่างไร ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19 : บทเรียนจากต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/category/read-with-tdri/article/

สราวดี เพ็งศรีโคตร และ จันทร์ชลี มาพุทธ. (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 7 (1), 68-82.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (40), 33-42.

สถิตย์ นิยมญาติ. (2555). การบริหารจัดการในการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงสำรวจ. [เอกสารอัดสำเนา]

แสงเดือน อาจหาญ. (2560). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11 (3), 86-94.

Alma Harris and Michelle Johes. (2020). School Leadership in Disruption Time. School Leadership and Management. 40 (4), 243-247.

Jerald C. Moneva, Crischel Jean M. Bago Jagobiao and Sheila T. Ycong. (2020). Guardianship: Parental Communication and Students Participation in School Activities International Journal of Social Science Research. 8 (2), 116-130.

Ilker Etikan, Sulaiman Abubakar Musa, Rukayya Sunusi Alkassim. (2016) Comparison of Convenience Sampling and Purposive Sampling. American Journal of Theoretical and Applied Statistics. 5 (1), 1-4.

Lim Seong Pek and Rita Wong Mee Mee. (2020). Parental Involvement on Childs Education at Home During School Lockdown. Journal of humanities and social studies. 4 (2). 192-196.

Lucy Brownlee. (2015). Parental involvement in school benefits students and develops teacher-parent relationships. Journal of Initial Teacher Inquiry, 1. 54-56. Online. Retrieved July 7, 2021. from:https://core.ac.uk/download/pdf/35473107.pdf

Masa Durisic and Mila BuniJevac. (2017). Parental Involvement as a Important Factor for Successful Education. C E P S. Journal, 7(3). 137-153. Online. Retrieved July1, 2021. from: https://www.pedocs.de/volltexte/2017/14918/pdf/cepsj_2017_3_ Durisic_Bunijevac_Parental involvement.pdf.

Majid Vahedi. (2010). A study of parents’ participation in the high schools administration and its effect on school activities. Procedia Social and Behavioral Sciences. 2 (2). 359–363.

Ria Novianti and Meyke Garzia (2020) Parental Engagement in Children's Online Learning During COVID -19 Pandemic. Journal of Teaching and Learning in Elementary Education (JTLEE). 3 (2). 117-131.