ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของโรงเรียน ในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูที่ปฎิบัติหน้าที่ในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 207 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้จำนวน 136 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (rxy = .756) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระสินธุ์ ตงฉิน. (2552). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
กิติศักดิ์ ปัญโญ และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13 (38), 135-148.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.
จิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ชุลี รุ่งพาณิช. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เชี่ยวชาญ ภาระวงค์, อนันต์ ปานศุภวัชร, และวาโร เพ็งสวัสดิ์. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 4 (7), 103-116.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553) เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.
ณัฐธยาน์ ทับทอง. (2562). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9 (2), 15-23.
ไทพนา ป้อมหิน, รชฏ สุวรรณกูฏ และทัสนา ประสานตรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1 (1), 128-138.
ธารีรัตน์ กลยนีย์. (2556). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
ปรารถนา ตันติกุลไพบูลย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุภาพรณ์ พิลาดรัมย์, เพชรสุดา ภูมิพันธุ์ และวิวรรณ กาญจนวจี. (2557). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 9 (1), 41-49.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ และ นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาตตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (5), 183-198.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2551). ภาวะผู้นํา ทฤษฏีและปฎิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
อัมพร อานุภาพแสนยากร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชัยภูมิ. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational leadership development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.
Burn, J.M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row.
Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Educational Administrations Theory Research and Practice. 6th ed. New York : McGraw – Hill.
John R. Schermerhorn.Jr. (2000). Organizational Behavior. (7 th ed). New York : JohnWiley & Sons.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Journal of Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.
Leithwood, K. and Jantzi, D. (November 1996). “Toward an Explanation of Variation inTeacher” Perceptions of Transformational School Leadership,” Educational Administration Quarterly. 32 (5) : 512 – 538.