รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร
วิรัตน์ มณีพฤกษ์
ทัศนีย์ ช่อเทียนทิพย์
พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูร

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสถานศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วย 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ และอำเภอเกาะสีชัง ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง  196  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์ ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมได้ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง .26 – .85 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α- Coefficient)  เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับดีมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในระดับดีมาก เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสําหรับอนาคตอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสามารถในการนําปัจจัยนําเข้าต่างๆ  มากำหนดกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผู้นําที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ อยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมากตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาร์น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลจริงได้อย่างไร . รายงานเรื่องสภาวะการศึกษาไทย ปี 2552-2553 . กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อดิลัน กือซา. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Naowanit Songkhram. (2013). Developing a blended teaching style with proactive learning for Building Knowledge and ability to solve creative problems for students. Bachelor of Education students in public higher education institutions Fiscal Year 2012. State Budget Fund.

Mickey, B. H. (2000). Instructional leadership: A vehicle for one urban principal to effective pedagogical restructuring in a Middle School. Ed. D. Dissertation, Temple University.

Yamada, A. T. (2000). Elementary school principals’ percentage of responsibilities and competencies for instructional leadership.Ed.D Dissertation. Faculty of the Graduate school, University of the Pacific.