คุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรับผิดชอบของบัณฑิตพัฒนาชุมชนที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.2557-2561

Main Article Content

เดโช - แขน้ำแก้ว
เชษฐา มุหะหมัด
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์
บุญยิ่ง ประทุม

บทคัดย่อ

          บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรับผิดชอบของของบัณฑิตพัฒนาชุมชนที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.2557-2561 ศึกษาเชิงปริมาณและมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 284 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน กำหนดให้สัดส่วนของประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งได้จำนวนไม่น้อยกว่า 186 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยสำรวจข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิตได้ จำนวน 284 คน ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ และใช้แบบสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตคิดเห็นต่อคุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรับผิดชอบของบัณฑิตเฉลี่ย 5 ปี อยู่ในระดับมาก ( = 4.50) และมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ บัณฑิตจากสถานศึกษานี้
มีจุดเด่น คือ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ดี เข้าใจการทำงาน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานและชาวบ้าน
ได้ดี ควรส่งเสริมและบูรณาการในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในลักษณะภาคีเครือข่ายในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและคุณลักษณะบัณฑิตที่สอดคล้องกับการทำงานและการพัฒนาชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญตา หนูปล้อง, สุดาวรรณ์ มีบัว และลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาการจัดการวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสาร

นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (พิเศษl), 189-199.

จุฑามาศ เบ้าคำกองและคณะ. (2560). ความต้องการศึกษาต่อและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6 (2), 86-94.

ฉัตรชัย ทองคำพันธุ์, วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ และลักษณา แกล้วกล้าหาญ. (2561). ความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15 (2), 97-110.

ธณัฐชา รัตนพันธ์, สรเดช ครุฑจ้อน และมนต์ชัย เทียนทอง. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานตามหลักทักษะชีวิต 4H เพื่อให้ได้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครรินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิเศษ), 15-24.

ศรีสุดา ไชยวิจารณ์. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (1), 59-72.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2558). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.2557. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2559). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.2558. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2560). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.2559. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2560). รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2561). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.2550. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2562). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.2561. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2562). รายละเอียดของรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน 3. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Kwon, Y.S. (2021). The Effect of Stress on Smartphone Addiction in Nursing Students: The Mediating Effect of Interpersonal Relationship. Annals of R.S.C.B.. 25 (1), 1293-1304.

Lee, J.S. (2021). Self-Regulation, Interpersonal Relationships, Self-Esteem and Aging Anxiety in Middle-Aged Adults. Annals of R.S.C.B., 25 (1), 799-804.