การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม การจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร
พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูร
ทัศนีย์ ช่อเทียนทิพย์
วิรัตน์ มณีพฤกษ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ปีการศึกษา พ.ศ.2563 จำนวน 17 คนโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 2) ระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการดำเนินงานตามแผน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และ 3) การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรโดยรวม คือปัจจัยด้านผู้บริหารและนโยบาย (X1) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ (X2) ปัจจัยด้านบุคลากร (X3) และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยมีประสิทธิภาพในการทำนายได้ร้อยละ 39.2


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สระทองขาว. (2554). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาสนา สะอาด และคณะ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ของสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

บรรจบ จันทมาศ. (2541). ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 . พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ส. เอเซียเพรส.

ประภาศ ปานเจี้ยง. (2555). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ออนไลน์. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2556. แหล่งที่มา: http://www.liberalart.hu.ac.th /Research/Aticle/02_Prapas.pdf‎

มัฮดี แวดราแม, โชติกา ภาษีผล, และศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 24 (3), 59-81.

วรรณพา นามสีฐาน และ เสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2555). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35 (3), 1-9.

สุรดี เขียวหวาน และคณะ. (2555). ความคิดเห็นของบุคลากรในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, 2563 (2563). รายงานผลการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Newton, J. (1999). An Evaluation of the Impact of External Quality Monitoring on A Higher Education College (1993-1998). Assessment & Evaluation in Higher Education. 24 (2), 215-253.