การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

Main Article Content

วิชัย ลาธิ
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษากลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ การดำเนินการวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก
ที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวม 314 คน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้
ด้วยตนเอง ใน 4 ด้าน คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การบริหารจัดการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ กลไกการดำเนินการ และเงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภัทสรณ์ นรกิจ และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). คุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้

ของครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายที่ 34 สำนักงานเขตมีนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (1), 55-69.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ในยุคปฏิรูปการศึกษา.

(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และ ปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6 (2), 128-134.

พิสิษฐ ภู่รอด. (2559). รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูวนาท คงแก้ว และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (4), 82-97.

ลัดดา อยู่มาก. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหาร

และพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพยวิสุทธิ.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). เส้นทางสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลกิจ ออฟเซทการพิมพ์.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). การบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพการศึกษายุคใหม่. ขอนแก่น: แอนนา.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช โสมาบุตร. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานทีดีอาร์ไอแนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียน

ขนาดเล็ก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563. แหล่งที่มา http://www.moe.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2563. แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf>

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). รายงานผลการดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ปัจจัยที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็ก

อยู่ได้อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ

ธรรมทรรศน์. 20 (1), 75-86.

เอกชัย บุตรแสนคม. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา

ประจำตำบล. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัญฑิต.สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.