การถอดบทเรียนความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2

Main Article Content

ปิยะสันต์ วรรณภพ
ชัชภูมิ สีชมภู
เชาวฤทธิ์ จั่นจีน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ที่มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานย้อนหลัง อยู่ในลำดับที่ 1-10 ติดต่อกัน 3 ปี จำนวน 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยท่าง โรงเรียนบ้านน้ำคา และโรงเรียนบ้านสบหนอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงของแบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 มีจำนวน 4 ด้าน ด้านการบริหารจัดการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาได้บริหารจัดการในโรงเรียน 4 กลุ่มงาน คือ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานวิชาการ และการบริหารงานทั่วไป ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ สื่อ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านผู้เรียน พบว่า นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน มีปัจจัย 2 ด้าน คือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านเจตคติ ด้านผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองมีส่วนเกี่ยวข้อง 2 ด้าน คือ ด้านความเข้าใจในการทดสอบและการสร้างนิสัยในการทำงาน และด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและการช่วยเหลือในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร.

บุญทิพย์ สุริยวงศ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 ของโรงเรียนมัญยมศึกษา กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

รุ่งเรือง ศักดิ์รัตนมาศ. (2557). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล : กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านนางเม้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิเขต 1. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลักษณา บุญนิมิตร. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้ปกครอง ครู และเพื่อนในการส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัด กรมสามัญศึกษาจุฬาลงกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ลวงสวาส, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล และชัยพจน์ รักงาม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6 (1), 236 - 254.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา (สกศ.).

อรัญญา ไชยวงค์. (2555). การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.