การศึกษาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

ธัญนันท์ ชาวส้าน
นิคม นาคอ้าย
สมหมาย อ่ำดอนกลอย

บทคัดย่อ

          การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 184 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 125 โรงเรียน โดยดำเนินการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มโดยวิธีแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 125 คน และครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน125 คน รวมเป็น 250 คน
          ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า
          1. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44)  เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การกำหนดนิยามพันธกิจ (Defining Mission) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การสนับสนุนบรรยากาศโรงเรียนในเชิงบวก (Promoting a Positive School Climate) อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การบริหารโปรแกรมการเรียนการสอน (Managing the Instructional Program) อยู่ในระดับมาก
          2. เมื่อพิจารณารายภารกิจ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการนิเทศและประเมินผลด้านการสอน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

ดุจฤทัย โพยนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเห็นของครูกลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐวุฒิ จันทร์โสภา. (2558). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญลักษณ์ ผาภูมิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรพต รู้เจนทร์. (2557). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วีรพงษ์ ไชยหงส์. (2558). ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/538526.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 -2579. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต2, สำนักงาน. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2562. กลุ่มงานนโยบายและแผน.