รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์เชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

Main Article Content

ชลารักษ์ สายอุทัศน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและระดับการปฏิบัติการบริหารโรงเรียน ก่อนการพัฒนา 2. สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3. ศึกษาผลการปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบฯ 4. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของนักเรียนและ 5. ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ ประชากร ได้แก่ 1) ครู จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครอง จำนวน 60 คนและ 4) นักเรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสรุปผลการศึกษาเอกสาร แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลการประชาพิจารณ์ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกคุณภาพของนักเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง
          ผลการศึกษาการบริหารโรงเรียน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนมีทรัพยากร ครูและบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยียังไม่เหมาะสม ด้านกระบวนการ มีระบบไม่ชัดเจน ด้านผลผลิต พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษายังไม่ดีพอ ด้านผลลัพธ์ ทัศนคติของครูเป็นเชิงลบ
          ผลการสร้างรูปแบบฯ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินความเป็นไปได้ การประชาพิจารณ์ การสนทนากลุ่มและประเมินความเหมาะสม ได้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง 14 กิจกรรม  
          ผลการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียน โดยใช้รูปแบบฯ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนอยู่ในระดับสูงขึ้นทุกชั้น ร้อยละของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับสูงขึ้นทุกประเด็น
          ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ พบว่า นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิเรก พรสีมา. (2552). การพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

พรทิพย์ สุพรรณกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนสมรรถนะสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค และจิราภรณ์ กาแก้ว. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมสังศาสตร์). 6 (12), 95 – 108.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รณชิต ฤทธิ์สำเร็จ. (2558). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ (2560). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2560. สมุทรปราการ: โรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2555). การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยโดยเวทีเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2558 – 2559 (World Economic Forum: WEF 2015 - 2016). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

วชิราภรณ์ สังข์ทอง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สำหรับเครือข่ายทางสังคมเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

อภิชาติ เหมฬา. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.