การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

กรกมล ชูช่วย
สุดารัตน์ ศรีมา
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

          การพัฒนาหลักสูตรผลิตครูเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ให้บัณฑิตครูมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จึงมีเสริมสร้างสมรรถภาพให้กับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และมีการวัดและประเมินผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะนำมาใช้พัฒนากระบวนการผลิตครูต่อไปในอนาคต รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพครู และ 2) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยงผู้ในโรงเรียนฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ จำนวน 100 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) มีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ตัวบ่งชี้ของสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพครู และระยะที่ 2 พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะ และ 2) แบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา และค่าอำนาจจำแนก
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ผลการประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะวิชาชีพครู พบว่า โดยภาพรวมของตัวบ่งชี้สมรรถนะทั้งหมดอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ( = 4.57, S.D. = 0.50)
          2. ผลการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู โดยการหาความเที่ยงตรงของตัวบ่งชี้ของค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (alph-coefficient) และการหาค่าอำนาจจำแนก พบว่า ตัวบ่งชี้สมรรถนะวิชาชีพครู จำนวน 45 ตัวบ่งชี้ และมีคุณภาพตามเกณฑ์ (IOC = 0.67 – 1.00, α = 0.93, r = 0.30 – 0.69)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ลัดดาวัลย์ สืบจิต. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริเดช สุชีวะ. (2546). หลักการประเมินการเรียนรู้ในการประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อัจฉณพร อมรวิวัฒน์. (2556). มาตรฐานสมรรถนะครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา

เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

John P. Moriarty. (2009). En Route to A Theory of Benchmarking. Benchmarking : An International Journal. 16 (4), 484 - 503.

National Council for the Accreditation of Teacher Education (NCATE). (2002). Professional standards for the accreditation of schools, colleges, and departments of education. Washington, DC: Author.

Raji, V.S. (2009). Competency Mapping of Teachers in Tertiary Education. Mba-Hrm Roll : Register.