แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6

Main Article Content

ศรัณย์รัชต์ ศุภรณ์พานิช

บทคัดย่อ

          สภาพสังคมปัจจุบันมีความหลากหลายทางความคิดและการแสดงออกส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งส่วนบุคคลและต่อองค์กร ทำให้การดำเนินงานภายในสถานศึกษาขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผู้บริหารจึงเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการความขัดแย้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรและมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
          1). เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 กลุ่ม 6
          2). เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 กลุ่ม 6
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 กลุ่ม 6 จำนวน 264 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อมีค่าความเชื่อมั่น 0.86 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 กลุ่ม 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก (  = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการจัดการความขัดแย้งในระดับปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการประนีประนอม รองลงมาคือ ด้านการยอมให้ ด้านการร่วมมือ ด้านการหลีกเลี่ยง และด้านที่มีการจัดการความขัดแย้งในระดับปฏิบัติต่ำสุด คือด้านการเอาชนะ 
          2. แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ผู้บริหารมีแนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งตามลำดับ 1). ด้านการประนีประนอมผู้บริหารสถานศึกษาพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการรอมชอม 2). ด้านการยอมให้ผู้บริหารสถานศึกษาเจรจาในสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันมากกว่าที่จะเจรจาในเรื่องที่ทุกฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกัน 3). ด้านการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาแสวงหาเหตุผลในการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ วิธีการนี้บุคคลจะมีพฤติกรรมมุ่งเอาชนะ 4). ด้านความร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมายโดยตระหนักถึงความคิดเห็นแตกต่าง 5). ด้านการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาพยายามลดความขัดแย้งโดยไม่นำมาเป็นที่วิตกกังวล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กุศล ชุมมุง. (2560). วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โครงการบัณฑิตศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

จิรารัตน์ เขียนรูปครุฑ. (2558). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรพรรณ เรืองฤทธิ์ และ สุรเชต น้อยฤทธิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. แหล่งที่มา http://edu.msu.ac.th/journal/home/journal_file/364.pdf.

ณัฐพล จันทร์เกิด. (2560). แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นัฏฐิกา นิลสุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงานตามทัศนคติของครูอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุภรณ์ ทับทิมทอง และนิมิต มั่งมีทรัพย์. (2558). วิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารที่มีผลกับความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. แหล่งที่มาhttps://dept.npru.ac.th/jssr/ data/files/10.1jss15.pdf