การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีความสอดคล้องของกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบ สหวิทยาการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process) จำนวน 3 แผน และแบบประเมินความสอดคล้องของกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ, ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ E1/E2 และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : Index of Consistency)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ อยู่ระดับมากกว่า 0.50 แสดงว่าทุกลำดับขั้นสามารถนำไปใช้สอนได้จริง (2) ผลประสิทธิภาพพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ พบว่า มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 90.27/91.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
ธนวรรณ อิสโร. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชุลีกร เป็นสุข. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่อย่างพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (2), 170-183.
นฤมล คงกลัด. (2557). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้ภาษาท่าเพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดหนามพุงดอ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคํา. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อี.เค.บุ๊ค
หทัยกาญจน์ สำรวลหันต์. (2549). พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ เรื่อง ถลกบาตร สำหรับนักเรียนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุสสรา เฉลิมศรี. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำไพ หรคุณารักษ์. (2552). ความรู้เพื่อประชาชน ชุดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: คิด..งอม... คาดการณ์เกี่ยวกับ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย”. นนทบุรี: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
เผชิญ อุปนันท์. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงสหวิทยาการเพื่อยกระดับคุณภาพการสอนของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. 11 (2), 271-285.
โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม. ฝ่ายวิชาการ (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. ออนไลน์. สืบค้นค้นเมื่อ พฤศจิกายน 18 2563. แหล่งที่มา: http://61.19.86.230/km/images/date/developing.pdf
Dewey, John. (1959). Dictionary of Education. New York: Philosophical Library.
Museum of science. (2007). Engineering is elementary: Engineering for children. Online. Received March 13, 2020 from: http//www.mos.org/eiei/index.php (2007.)