บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

จันทิมา รักดี
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์
มิตภาณี พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 303 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษาพัฒนา ด้านร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านการดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกภาคส่วน
          2. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 -2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

จิราวดี พวงจันทร์ และ นภดล เจนอักษร. (2554). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาระดับสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา. 2 (1), 71-80.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สาริสา ปราเมต, นวมินทร์ ประชานันท์ และศิราณี จุโฑปะมา. (2556). บทบาทการบริหารหลักสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตร จังหวัดบุรีรัมย์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 15 (2), 126-134.

สุรีพร วงศ์สวัสดิ์สุข. (2551). การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน

โรงเรียนราชวินิต มัธยม. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2553ก). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2553ข). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGrew Hill.