สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์

Main Article Content

รังสรรค์ ทบวอ
ชุติมา พรหมผุย
สุวัฒนพงษ์ ร่มศรี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์  และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของภายในวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ในการทำงาน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษา ได้แก่ บุคคลากรในวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ที่ปฏิบัติงานในปี การศึกษา 2563 ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  จำนวน  5 คน  ครูผู้สอน  จำนวน  230  คน  และเจ้าหน้าที่  จำนวน  36  คน  รวมทั้งหมด  271  คน   เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 48 ข้อ สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ F-test
          ผลการวิจัย พบว่า 
          1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์   โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในอยู่ในระดับมากทุกด้าน (µ = 4.34, ơ = 0.19)  โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวางแผนการประเมิน (µ = 4.35, ơ = 0.18) ด้านสรุปผลการประเมิน  (µ = 4.34, ơ = 0.21) ด้านนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาปรับปรุงและพัฒนา  (µ = 4.33, ơ = 0.21) และน้อยที่สุด  คือ  ด้านดำเนินการตามแผน  (µ = 4.31, ơ = 0.21)
           2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์ในการทำงานโดยใช้สถิติ F–test (One-way ANOVA) พบว่า มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัย-เทคนิคบุรีรัมย์โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พุทธศักราช 2561. (2561, 22 กุมภาพันธ์). ราชกิจจา-นุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 11ก. หน้า 3-5.

กฎกระทรวง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2561. (2561, 18 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 228ง. หน้า 4-6.

โกวิท หาญสมบัติ. (2555). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณัฐพล รักไทย และ อาคม อึ่งพวง. (2558). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับ การประเมินคุณภาพภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38 (2), 20-34.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์. (2562). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2562. บุรีรัมย์: งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ: วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์.

วันทนา เนื้อน้อย (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2552-2561. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2555). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สายใจ ใฝ่จิต. (2558). แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนโกสัมพีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อรพวง ชุ่มใจ. (2557). สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 1 ที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษารอบสอง อยู่ในระดับดีมาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, Mass : MIT Center for Advanced Engineering Study.