การบริหารการจัดการความขัดแย้งตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

ศิริวรรณ บัวโชติ
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          สังคมและองค์กรทุกวันนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ปัจจัยพื้นฐานทำให้เกิดปัญหาสังคม เมื่อมนุษย์อยู่กันเป็นกลุ่มในลักษณะของสัตว์สังคม และท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัดก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความขัดแย้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่ความขัดแย้งถึงจุดที่ไม่สามารถจะแก้ไขเยียวยาได้ ทางเลือกของสังคมก็จะถูกจำกัดลง โดยมีทางออกอยู่สองทางคือ การพยายามแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้วยการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย หรือมิฉะนั้นก็คงต้องแก้ไขความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรง การที่จะทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง ทุกคนจะต้องได้รับการเรียนรู้ และการนำหลักธรรมในทางพุทธศาสนาไปใช้จะส่งผลให้บรรยากาศในการทำงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ร่าเริงแจ่มใส คนทำงานมีความสามัคคี และมีความสุข สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรทำให้บุคลากรในองค์กรไม่ขัดแย้งกันนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จรัส พยัคฆราชศักดิ์ และกวี อิศริวรรณ. (2548). สาระการเรียนรู้พื้นฐาน พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

พรสุข หุ่นนิรันดร์ และคณะ. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2547). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organization. New York : Free Press.