การศึกษาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านความรู้ในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลังจากที่ได้รับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐาน โดยให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2. เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านทักษะและด้านเจตคติในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษ หลังจากที่ได้รับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 70 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบสมรรถนะด้านความรู้ และแบบสอบถามสมรรถนะด้านทักษะและด้านเจตคติ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษามีคะแนนประเมินสมรรถนะด้านความรู้ในการสร้างนวัตกรรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ทุกคน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.07 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษา ในด้านทักษะอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (S.D. = 0.07) ส่วนด้านเจตคติ พบว่า นักศึกษามีระดับสมรรถนะด้านเจตคติในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (S.D. = 0.06)
Article Details
References
กุลรภัส เทียมทิพร. (2559). PBL: Project Base Learning การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง 1 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฐิติยา เนตรวงษ์ และ บุญญลักษม์ ตำนานจิตร. (2555). การเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐานที่ส่งผลต่อการสร้างความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิจัย มสด. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (3). 1-11.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน:จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560. แหล่งที่มา: http://www.pharmacy.cmu.ac. th/unit/unit_files/files_ download/2014 - 04-10.pdf.
นงนุช โรจนเลิศ. (2561). สมรรถนะเชิงการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 11-27.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การวิจัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ( CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. ขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38 (4), 141-148.
วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity Based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (2), 23-37.
อนรรฆ สมพงษ์ และลดาวัลย์ มะลิไทย. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์. คณะครุศาสตร์ . บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อานนท์ ปลื้มเนตร และคณะ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 2 (4), 90-97.
Binturki, T.A. (2008). Analysis of Pronunciation Errors of Saudi ESL Learners. Master of Arts Degree. Southern Illinois University, Carondale.
Derwing, T.M., and Rossitier M.J. (2002). ESL Learners’ Perceptions of their Pronunciation
Needs and Strategies. System. 30 (2), 155-166.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 140, 5-55.