มาตรการทางกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดอันตรายจากการใช้รถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดอันตรายจากการใช้รถยนต์ในประเทศไทย และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดอันตรายจากการใช้รถยนต์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาวิจัยค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานด้านจราจรของต่างประเทศ ตลอดจนเอกสารข้อมูล การศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนของต่างประเทศ หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ เอกสาร บทความ คำพิพากษาของศาลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ในประเทศไทยเป็นไปตามกฎหมายฉบับหลัก ได้แก่ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ไม่เอื้อต่อการให้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้รถยนต์ โดยมีปัญหาและอุปสรรค 4 ประการ ได้แก่ 1) ความยุ่งยากในการปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจร 2) การขาดบทลงโทษที่รุนแรงและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 3) การขาดความเป็นเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการระบบการจราจร และ 4) การขาดการสนับสนุนนโยบายด้านเทคโนโลยีจราจรจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายโดยจัดให้มีกฎหมายกำหนดให้ต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นอุปกรณ์ส่วนควบเข้ามาติดตั้งในรถยนต์ การกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่ายกฎหมายให้มีความรุนแรงขึ้นควบคู่ไปกับการบังคับใช้มาตรการการตัดคะแนนและการเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อย่างเคร่งครัด และภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานกลางที่มีอำนาจในการบริหารจัดการระบบข้อมูลการจราจรและบูรณาการงานด้านจราจรกับหน่วยงานอื่นอย่างเป็นเอกภาพ
Article Details
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2563). การประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินการ ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: www.disaster.go.th . All Rights Reserved.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สรุปผลการดำเนินงานโครงการขับขี่ปลอดภัยมั่นใจไร้แอลกอฮอล์. กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค: กระทรวงสาธารณสุข.
พุดตาน พันธุเณร และ เฉลิมภัทร พงษ์อาจารย์. โครงการทบทวนวรรณกรรมว่าด้วยเรื่องของการประเมินผลการตอบแทนทางสังคม กรณีศึกษาการลงทุนด้านความปลอดภัยบนถนน. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเศวร.
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2549). ทางเลือกในการกำหนดวาระแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุจราจร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
วสุเชษฐ์ โสภณเสถียร. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจราจรทางบก ประเภทรถโดยสารสาธารณะท่องเที่ยว ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์ และ คณะ. (2555). โครงการการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ วงรอบที่ 3 จังหวัดภูเก็ต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต 3. คณะแพทย์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Geller ES, Rudd, J. R. , Kalsher, M. J. , Streff, F. M. , & Lehman, G. R. , (1987). Employer- based programs to motivate safety belt use: A review of short-term and long-term effects. Journal of Safety Research. 18 (1), 1-17.
Lacey JH., Ferguson SA., Kelley-Baker T. and Rider RP. (2006). Low-manpower checkpoints: can they provide effective DUI enforcement in small communities? Traffic Inj Prev 2006 Sep; 7 (3), 213–8.
Nathakorn Homruen. (2019). สรุปกฎหมายความปลอดภัยทางถนน 15 ข้อ ที่ยุโรปบังคับใช้ รวมถึงติดกล่องดำ-เครื่องวัดแอลกอฮอล์. Online. Retrieved on: 2019 December, 5. Available: URL: https://www.magcarzine.com/ eu-car-law-007/,
Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2000). Organization behavior. (7th ed.). New York: Von-Hoffman.