การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web - Based Instruction)

Main Article Content

วริษฐา มากสุข
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ( Web base Instruction ) วิชาภาษาจีน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web - Based Instruction) และ (3) ศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web - Based Instruction) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา จังหวัดนนทบุรี จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนผ่านเว็บ (Web  Based Instruction) เรื่อง อาชีพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาภาษาจีน เรื่อง อาชีพ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามเจตคติทางการเรียนที่มีต่อวิชาภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ประเภทไม่อิสระ dependent sample t-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเว็บ(Web  Based Instruction) รายวิชาภาษาจีน มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82/90 ตามเกณฑ์ 80/80  2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web - Based Instruction) หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web - Based Instruction) อยู่ในระดับมากที่สุด            

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2551ก). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551ข).ความสำคัญของภาษาจีน. กรุงเทพมหานคร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ(Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร. 28 (1), 87-94.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

พรพงศ์ ศิริสุขเจริญพร. (2562). เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมกับการเรียนการสอนแบบปกติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11 (26), 34-30.

รณพล มาสันติสุข. (ม.ป.ป ) . สภาพการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

วิชุดา รัตนเพียร. (2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์, 27 (3), 29-35.

สุเนตร สืบค้า. (2552). เรื่อง ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยโปรแกรมมูเดิ้ล(Moodle e-Learning). รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน สาขาวิชา วิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ บุญมี พันธ์ไทย และสมจิตรา เรื่องศรี. (2559). พิมพ์ครั้งที่ 3. ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

อาภรณ์ คำก้อน. (2557). การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction (WBI). เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่ E-learning ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ Share & Learn: การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction (WBI), กรุงเทพมหานคร. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bloom, B.S. (1956) Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York : David McKay.