การพัฒนาตัวแบบความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ศรัญภร ศิลปประเสริฐ
สุบิน ยุระรัช
วราภรณ์ ไทยมา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) วิเคราะห์องค์ประกอบที่อิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3) พัฒนาตัวแบบการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นวิจัยและพัฒนา การวิจัยแบบผสานวิธีเชิงอธิบาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 396 คน แบบเจาะจง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้างานการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิทยาลัยเทคนิคที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคี การเก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง หรือโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นหรือลิสเรล
          ผลการวิจัย พบว่า
          1) ระดับของความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.60, SD=0.42)
          2) องค์ประกอบที่อิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ c2= 79.573, df = 61, c2/df=1.304, p-value = 0.55, GFI = 0.972, AGFI = 0.952, RMSEA = 0.028 
          3) ตัวแบบการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีมีลักษณะเป็นกระบวนการเริ่มจากการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการ ส่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรภัทร์ ไชยสัตย์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 5 (1), 138-147.

ประภาพรรณ ปรีวรรณ และคณะ. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. 10 (2), 201-214.

สุบิน ยุระรัช. (2562). การสังเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ของศูนย์พัฒนาเด็ก สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษา. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

สหชาติ สุดเรือง และ สุนทรี วรรณไพเราะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารกับคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา. การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. 18 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Duke, D. L. (1987). School leadership and instructional improvement. New York : Random House.

Highett,N.T.(1989).School effectiveness and ineffective parent’s principal’ and superintendents’ perspertives.Unpublished doctoral dissertation,University of Alberta.Edmonton,AB.

Keeves P.J.(1988). Educational research,methodology and measurement:An international handbook. Oxford: Pergamon Press.