ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 การศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอน ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารของหน่วยงานสถานศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกบทสนทนากลุ่ม และนำเสนอข้อค้นพบโดยพรรณาวิเคราะห์
ผลวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยด้านการบริหารองค์กร ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์สามารถนำโรงเรียนสู่การเป็นมาตรฐานสากล ผู้บริหารบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ผู้บริหารมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการบริหารจัดการ 2) ปัจจัยด้านการวางแผนกลยุทธ์ บุคลากรต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากล มีความสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 3) ปัจจัยด้านผู้เรียนและผู้รับบริการ นักเรียนมีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนงานโรงเรียน 4) ปัจจัยด้านบุคลากร ครูผู้สอนต้องมีความรู้ มีความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนการสอน มีจรรยาบรรณปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 5) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนต้องมีการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพ มีห้องเรียน แหล่งเรียนรู้มีสภาพแวดล้อมบรรยากาศเอื้อต่อการใช้บริการ มีสื่อที่พอเพียงเหมาะสมทันสมัย มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
Article Details
References
จิตณา มั่นคง. (2554). การดำนินการตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดิฐารัตน์ ลีวรางกุล. (2553). ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการ
เตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
ดุจดาว ศิริวาลย์. (2555). แนวทางการนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศศิพร รินทะ. (2554). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลกรณีศึกษาโรงเรียนเมืองคง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมนี จำกัด.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2553). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2553-2554. กรุงเทพมหานคร: ศิวาโกลด์ มีเดีย.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2555). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2555-2556. กรุงเทพมหานคร: พงษ์วรินการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมีนา สะแลแม. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนร่มเกล้า ตามเกณฑ์การตัดสินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
อภิรักษ์ คงทวี. (2556). แนวทางการดาเนินงานบริหารระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2527). หลักการบริหารการศึกษาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: อนงค์ศิลป์การพิมพ์.