การบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีดิจิทัล ในประเทศไทย

Main Article Content

สิทธิชัย ทรัพย์แสนดี
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำเร็จด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ4) ศึกษาปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานบัญชีที่จดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 364 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัล ประกอบด้วย ความพร้อมของหัวหน้าสำนักงาน ความพร้อมของสำนักงาน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน การให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร และทักษะด้านดิจิทัลของพนักงาน มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.01 และปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัล ประกอบด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน ความพร้อมของหัวหน้าสำนักงาน ความพร้อมของสำนักงาน การให้บริการลูกค้าแบบครบวงจรและทักษะด้านดิจิทัลของพนักงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). กรมพัฒน์ฯ มอบรางวัลสำนักงานบัญชีดิจิทัลดีเด่น (Best Digital Accounting Firm Award 2020) ยกระดับสำนักงานบัญชีคุณภาพ สู่การเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/news_ view.php?nid=469418521.

จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีกลุ่มธุรกิจบริการในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 8 (21), 58–77.

จิรัชยา นครชัย. (2553). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 7 “มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม...พลังขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค 4.0” . 4 กรกฎาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม. (2562). ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชี. RMUTT Global Business and Economics Review. 10 (2), 141–152.

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ความสำเร็จในการปฏิบัติงานสำนักงานบัญชีคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2559). ระบบคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง และ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 14 (1), 51–66.

พัชรินทร์ ใจเย็น และ คณะ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 3 (1), 196–207.

วริยา ปานปรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” . 9 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ศิระ อินทรกาธรชัย. (2559). PwC เผยมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่-ความก้าวหน้าทางดิจิทัลกระทบธุรกิจไทย แนะเตรียมรับมือให้พร้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://positioningmag.com/1109467.

ศุภกฤษ บุญจันทร์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมบูรณ์ กุมาร และ ฐิตินันท์ กุมาร. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในจังหวัดน่าน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (12), 122–137.

อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อัจฉราภรณ์ ทวะชาร และคณะ. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (2), 267-278.

Carnegie & Edwards. (2001). The construction of the professional accountant: the case of the Incorporated Institute of Accountants, Victoria (1886). Accounting, Organizations and Society

Hou. C. K. (2012). Examining the effect of user satisfaction on system usage and individual performance with business intelligence systems: An empirical study of Taiwan's electronics industry. International Journal of Information Management, 32 (6), 560–573.

Lee, P. H., & Yu, P. L. H. (2012). Mixtures of weighted distance–based models for ranking data with applications in political studies. Computational Statistics and Data Analysis, 56, 2486–2500.