ศึกษาสภาพการดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแลและจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 234 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สภาพการดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแล และจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และ การเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D.= 0.43) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D.= 0.41) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ คือ ด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป ( = 4.00, S.D= 0.49) มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
จันทร์สุดา ทรายหมอ. (2562). แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธเนศพล อินทร์จันทร์. (2562). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เพ็ญโสภา เทพปัน. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภาคิม จิรจตุรพรกุล. (2561). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ภัทรวดี หะสิตะพงษ์. (2559). ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
วิมล สร้อยสูงเนิน. (2561). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ศุกลพิจักษณ์ มลาไวย์. (2564). การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สารินีย์ จีนาภักดิ์. (2558). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษา กรณีเฉพาะเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุปรีดา อดุลยานนท์. (2562). เร่งพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบก้าวกระโดด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://hilight.kapook.com/view/192705
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
เสาวรักษ์ คำภิละ. (2561). สภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบนพื้นที่สูง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
อังคณา วรรณโสภณ. (2557). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.