การบริหารจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พิชญุฒม์ เพ็ญมาศ
เพียงพิศ ศรีประเสริฐ
นัตติกานต์ สมนึก
ปัญจพร เกื้อนุ้ย
เบญจา ทองพันธ์

บทคัดย่อ

          การบริหารจัดการชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มอาชีพตำบลกรุงชิง  อำเภอนพพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1)  วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการจัดการธุรกิจชุมชนและองค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ การจัดการด้านการตลาด การจัดการด้านการผลิต และการจัดการด้านบัญชีและการเงิน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารจัดการชุมชนโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  3.99 (S.D.=0.79) ส่วนความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความรู้และคุณธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.81 (S.D.=0.76)
           ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีผลต่อปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการจัดการธุรกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การจัดการและวางแผนธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยาม พริ้นท์แอนด์แพคก์.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2549). คู่มือปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน. สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง : ความพอเพียงมวลรวมในประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัยจำกัด.

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง. (2558). จำนวนประชากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm

เย็นใจ เลาหวณิช. (2545). การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารการศึกษาแห่งชาติ. 4 (12), 46-52.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.

ธีระพล ศิระบูชา. (2549). การจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องหนัง (รองเท้า) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหานจังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จี พี ไซเบอร์พริ้นท์.

Miller N. J. and Besser T. L. (2000). The importance of community values in small business strategy formation: Evidence from rural Iowa. Journal of Small Business Management. 38 (1), 68-85.

Jackson E. T. (2004). Community Innovation Through Entrepreneurship: Grantmaking in Canadian Community Economic Development. Journal of the Community Development Society. 35 (1), 65-81.