การจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์การเรียนรู้อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ผุสดี มณี
หยกแก้ว กมลวรเดช

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อสำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์การเรียนรู้อำเภอศรีนครจังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ปราชญ์ชุมชน ครู ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ชุมชนของโรงเรียนในเขตอำเภอศรีนคร จำนวน 100 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์การเรียนรู้อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1.  การจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์การเรียนรู้อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย  จากการศึกษาวิจัย  พบว่า  การจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ที่ได้ทำการศึกษา โดยภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 49 แหล่ง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล  แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น  แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรตามธรรมชาติ และแหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และความเชื่อ ส่วนใหญ่เป็น ประเภทสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จำนวน 18 แหล่ง คิดเป็นร้อยละ 37.93 รองลงมาคือ แหล่งเรียนรู้ ประเภทบุคคล จำนวน 11 แหล่ง คิดเป็นร้อยละ 31.30 แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และความเชื่อ จำนวน 11 แหล่ง คิดเป็นร้อยละ 17.24 และ แหล่งเรียนรู้ประเภท ทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 9 แหล่ง คิดเป็นร้อยละ 13.79

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). ความสำคัญของการศึกษาแหล่งเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้น 11 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://punaoy.blogspot.com/2009/11/blog-post_8617.html

เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียงในหลักคิด “พอเพียง”. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2013). ประเภทแหล่งเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้น 11 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://pitagoms09.blogsport.com

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นตริ้ง.

นิพนธ์ สุขปรีดี. (2554). ประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพ: เคทีพีคอมแอนด์คอนซิว.

ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). ประเภทแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์.