ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้แทนยา ที่มีศักยภาพสูงในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วย งานวิจัยเชิงปริมาณ ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ ได้แก่ ปัจจัยพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ปัจจัยกระบวนการขาย และปัจจัยการตลาดเชิงสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนยาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง) จำนวน 222 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยด้วยสถิติเชิงอนุมานได้แก่ การทดสอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ทำการศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้บริหารเชิงปฏิบัติการและเชิงนโยบายที่ปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 13 คน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาบุคลากร เมื่อได้ผลการศึกษาแล้วจึงนำมาวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นผู้แทนยาที่มีศักยภาพสูงในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ ระดับนัยสำคัญ .01 (2) ปัจจัยกระบวนการขายส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ ระดับนัยสำคัญ .01 (3) ปัจจัยการตลาดเชิงสัมพันธ์ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ ระดับนัยสำคัญ .01 (4) ปัจจัยกระบวนการขาย ปัจจัยการตลาดเชิงสัมพันธ์ และปัจจัยพฤตกรรมเชิงจริยธรรมส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ตามลำดับ ระดับนัยสำคัญ .05 (5) แนวทางการพัฒนาบุคลากรตามแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่า “รูปแบบแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นผู้แทนยาที่มีศักยภาพสูงในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น “TEDS model”
Article Details
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.).
จิตติมา ปฏิมาประกร. (2559). การพัฒนาและการจัดการคุณลักษณะ ทักษะการขายของนักขายที่ส่งผลต่อเป้าหมายบริษัทในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ประเภทฉลากสินค้า : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. (งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนิดาภา นิยมทอง. (2559). อิทธิพลของการตลาดเชิงสัมพันธ์และส่วนประสมการตลาดที่มีต่อปัจจัยการเลือกใช้ยาใหม่ของแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชูเพ็ญ วิบุลสันติ, ธวัชชัย สุวรรณปทุมเลิศ และธิดา อาทรสุวัฒนกิจ. (2552). พฤติกรรมของผู้แทนยาต่อการติดสินใจสั่งจ่ายยาของแพทย์. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 4(4), 508-516.
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2562). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมปี 2561-63 อุตสาหกรรมยา วิจัยกรุงศรีธนาคารกรุงศรีอยุธยา แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ปี 2563-2565.
รัตนา ชัยกัลยา. (2559). จริยธรรมผู้แทนขายที่ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์กับลูกค้าอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.
สุพิมพา เบญจรัตนานนท์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดเชิงสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตลาดและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ยาใหม่ของแพทย์ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bahari, A. B., Sabahi, E., Taheri, S., & Hatami, B. (2013). The effect of relationship marketing on bank’s customer satisfaction. International Journal of Business and Behavioral Science. 3 (6), 45-48.
Bansal, H. S., Taylor, S. F., & James, Y. S. (2005). Migating to new service providers: Toward a unifying framework of consumer’s switching behaviors. Jounal of the Academy of Marketing Science. 33 (1), 96-115.
Curtis, T. (2009). Customer satisfaction, loyalty, and repurchase: Meta-analytical review, and theoretical and empirical evidence of loyalty and repurchase differences (Doctoral dissertation). Pro Quest Dissertations and Theses database. (UMI No. 3390443).
Guest, G., Bunce, A., Q, & Johnson, L. (2006). How manay interviews are enough? : An Experimental with data saturation and variability. Filed Methods. 18(1), 59-82.
Hennig – Thurau, T., Gwinner, K. P., & Gremler, D. D. (2002). Understanding relationship Marketing outcomes : An Integration of Relationship benefits and Relationship Quality. Journal of Service Research. 4 (3), 230-247.
Jerry, W., Gilley, S., & Eggland, A. (2002). Principal pf Human Resource Development. online. Retrieved on June 30, 2020. from: http://iss.nectec.or.th/hrmag/showpage/ php?vol=6&sub=3&id=0
Kohlberg, L. (1976). Moral Stage and moralization: The cognitive development and behavior: Theory Research social issues. New York: Holt, Reinhart and Winston.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing. Boston [etc.]: Pearson.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Likert. (1967). The Method of Constructing and Attitude Sacle. In M. Reading in Fishbeic (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Miles, J., & Shevlin, M. (2001). MApplying Regression and Correlation. In J. Miles & Shevlin (Eds.). London: SagePublications.
Nimitsadikul, P., & Jadesadalug, V. (2016). Krabuankan borihan sapphayakon manut khong mahawitthayažai ratchaphat nakhon pathom [The human resource management process of the Nakhon Pathom Rajabhat University]. Veridian E-Journal. 9 (3), 631-652.
Peng, L. Y., & Q., W. (2006). Impact of relationship marketing tactics (RMT’s) on switchers and stayers in a competitive service industry. Journal of Marketing Management. 44, 22-59.
Piaget, J. (1963). The origins of intelligence in children. New York: W.W. Norton & Company, Inc.
Román, S., & Munuera, J. L. (2005). Determinants and consequences of ethical behavior: An empirical study of salespeople. European Journal of Marketing. 39 (5-6), 473-495.
Tseng, Y. M. (2007). The Impact of Relationship Marketing Tactics on Relationship Quality in Service Industry. The Business Review. 7 (2), 310-314.