การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย ด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC model สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

Main Article Content

สุกัญญา ปัจชัยสังข์
อภิชา แดงจำรูญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC model กับนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling)  โดยการจับฉลาก ได้มาจำนวน 2 ห้องเรียน รวม 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.81  (3) แผนการจัดการเรียนรู้ 5 แผนการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 10 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นและ และค่าสถิติ t–test (Independent samples)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่า ประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/84.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ศาสนาสำคัญในประเทศไทย ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC model สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC model อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กิตติคุณกฤดากร สุขปัญญา. (2560). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ภูมิปัญญาล้ำค่าวิถีชน รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกบินทร์วิทยา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การสอนสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงค์และคณะ. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หนึ่งฤทัย นาคประสิทธิ์ และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เล่าขานเมืองอ่างทองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำผึ้ง ที่สอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8 (1), 86-102

ศิรประภา จังพานิช. (2557). พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ชุมชนคนไร่ขิง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อัษฎาวุฒิ ปัดมะลิด และอภิชา แดงจำรูญ (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา “นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และสังคม ในยุคดิจิตอล”. 7 (1), 155-164