การพัฒนาความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมในสาระภูมิศาสตร์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์
เพ็ญพนอ พ่วงแพ
วิสูตร โพธิ์เงิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ 3) ศึกษากระบวนการคิดเชิงออกแบบหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมและ 4) แบบประเมินกระบวนการคิดเชิงออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระจากกันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ อยู่ในระดับดี 3) กระบวนการคิดเชิงออกหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: หจก. ส.มงคลการพิมพ์.

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561 (Annual Report 2018). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา https://creation.smartcatalogue.com/public/products/user_000756/00001625/pdf/190528112236-000000 1625.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). นวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน (Social Innovation For Health Driving Through Child). วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 26 (1). 120-145.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยาและชูจิต ตรีรัตนพพันธ์. (2560). DESIGN THINKING: LEARNING BY DOING การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ และคณะ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่อง ภาคตัดกรวยที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. วันที่ 21 กรกฎาคม 2560. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ. (2557). เอกสารประกอบการสอน วิชา 070225005 สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Statistics and research methodology for IT). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วาทินี บรรจง. (2556). ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

Badke-Schaub, P., Roozenburg, N. and Cardoso. C. (2010). Design Thinking: A paradigm on its way from dilution to meaninglessness?. Proceedings of The 8th Design Thinking Research Symposium (DTRS8) Sydney.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review. (2), 84-95.

Dewey, J. (1963). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.

Nadler, L. (1980). Corporate Human Resource Development. New York: Van Nostrand Reinhold Company.