แนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Main Article Content

ทิพา พุมมา
ชัชภูมิ สีชมภู

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารและแนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าครูวิชาการ และครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร จำนวน 110 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับสภาพการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
          2. แนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร มีดังนี้ ด้านการขับเคลื่อนนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ร่วมกันวิเคราะห์นโยบาย ประกอบการวางแผนเพื่อกำหนดภาพของความสำเร็จ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนา สื่อ นวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูเข้ารับการพัฒนาด้านนวัตกรรม เช่น อบรม สัมมนา เป็นต้น ด้านการประสานงานและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำด้านการประสานงาน จัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ ร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ผู้บริหารสถานศึกษาทำงานร่วมกับหลายฝ่ายในการนิเทศ ประชุมชี้แจง สร้างเกณฑ์การนิเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ด้านการสะท้อนผลการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสะท้อนผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ด้านการนำผลไปใช้ในการปรับปรุงผู้บริหารสถานศึกษาเน้นย้ำส่งเสริมนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ สุธาพจน์. (2559). แนวทางการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชบา จันทร์นวล. (2560). แนวทางการนำนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ งามศิริ. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ MARCO Model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์. 3 (2), 69-80.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริลักษณ์ เรืองฤทธิ์. (2558). สภาพการบริหารจัดการเวลาเรียนโดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนแกนนำในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

แสงรุนีย์ มีพร. (2561). การพัฒนาระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชีรา มะหิเมือง. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.