การศึกษาสภาพการบริหารจัดการตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ณัฐปภัสร์ มาเวหา
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 211 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะแบบประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) เกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในมาตรฐานที่ 1 ทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 2) ด้านการบริหารจัดการบุคลากร 3) ด้านการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย   4) ด้านการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ 5) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)   
          ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก    = 4.44 และ S.D. = 0.35 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้  รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ด้านการบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการบุคลากร และด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น, (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

เกตุทอง เนียมฝอย. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

บุญชม ศรีสะอาด และ สุริทอง ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พรพรรณ อรุณเวช. (2557). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วรินทร ด้วงชำนาญ. (2560). สภาพการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิมลรัตน์ แว่นระเว. (2559). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กรม. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร. (2562). โครงการ กทม.อาสา ฝ่าวิกฤต ช่วยชีวิตด้วย CPR & AED. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. แหล่งที่มา : www.prbangkok.com.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.