วิกฤติโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทยสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

Main Article Content

ญาณิศา ยอดสิน
กนกวรรณ ศรมณี
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้เพื่อศึกษากระบวนการการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทยสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ภายใต้วิกฤติโควิด-19 พบว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานไว้ยังคงเป็นคำตอบของประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้ในวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจพอเพียงนี้มุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นมีความยั่งยืนบนพื้นฐาน “ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี” การนำหลักการดังกล่าวมาเป็นหลักในการทำการเกษตรแบบผสานเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตในการทำการเกษตรของไทยสู่การทำการเกษตรวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ซึ่งเป็นแนวทางการทำการเกษตรบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรนั้นมีกินมีใช้บนพื้นที่ของตนเอง ส่งผลให้เกษตรกรลดความเสี่ยงและอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน แต่ทำให้มีรายได้จากผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ ที่สามารถมาเดินเก็บหรือจับขึ้นมาชั่งกิโลเองได้เลย ซึ่งถือว่าเป็นวิถีชีวิตใหม่ในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โควิด - 19 ฉบับที่ 515 วันที่ 1 มิถุนายน 2564. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์. (2564). ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยจากโรคติดต่อเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) และข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติตามสถานการณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์. (2564). เกษตรกรสุโขทัย ทำเกษตรผสมสาน เปลี่ยนเรือกสวนไร่นาให้กลายเป็นห้างสรรพสินค้า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www. technologychaoban.com/ agricultural-technology/article_170051.

บวรศม ลีระพันธ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

World Health Organization Thailand. (2564). โรคโควิด 19 คืออะไร. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www. who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf.