ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1 คน ประธานกรรมการสถานศึกษา 1 คน ครูหัวหน้าวิชาการ 1 คน และตัวแทนผู้ปกครอง 1 คน จากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 7 โรงเรียน รวม 28 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 คน ประธานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต1 และ 2 รวม 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ด้านที่ 1 โครงสร้างพื้นฐาน อาคารเรียนไม่เพียงพอ มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่มีรถบริการรับ-ส่งนักเรียน และไฟถนนส่องสว่าง ระบบไฟฟ้าภายในอาคารชำรุด ไม่ได้รับการสนับสนุน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ น้ำประปาหมู่บ้านไหลไม่สม่ำเสมอ ระบบน้ำบาดาลชำรุด ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ขาดอุปกรณ์กรองน้ำดื่ม ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร คอมพิวเตอร์ไม่พร้อมและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ด้านที่ 2 การส่งเสริมการศึกษา ขาดแคลนครูภาษาจีน ขาดอุปกรณ์จัดการเรียนรู้ในรูปแบบของสะเต็มศึกษา ไม่ได้รับงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ขาดเครื่องมือสอนทักษะอาชีพเพิ่มเติม วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการปฎิบัติของนักเรียน โรงเรียนจัดทำเว็บไซต์ของโรงเรียน แต่ขาดการใช้งานที่หลากหลาย และบุคลากรผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ในการจัดการระบบสารสนเทศของโรงเรียน และด้านที่ 3 ขาดการประสานงานกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน
ผลการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย พบว่า 1. ด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา มีการวางแผนการจัดตั้งงบประมาณแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ที่กล้าจะเปลี่ยนแปลง มีเป้าหมายชัดเจนสามารถสื่อสารกับบุคลากรในโรงเรียนให้มองเห็นเป้าหมายเดียวกันได้ และนำบุคลากรในโรงเรียนไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ต้องการพัฒนาโรงเรียนให้เกิดคุณภาพและพัฒนานักเรียนให้เก่ง ดี มีความสุข การบริหารจัดการให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสร้างความศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อชุมชน วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา มีติดต่อประสานงาน ช่วยเหลือ และหมั่นแสวงหางบประมาณจากแหล่งต่างๆผ่านโครงการและ 3. ด้านการบริหารจัดการ ต้องมีการขับเคลื่อนนโยบายให้เป็นรูปธรรม จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กอบกฤช การควรคิด. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจดัการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พักตร์พิไล วงศ์ละ. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและการประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
รัตนา สิทธิกร. (2555). ผลการดำเนินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลของโรงเรียนพร้าวบูรพา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รินแก้ว มาตย์วังแสง. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลตามทัศนะของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วรวัตร วิริยะพันธ. (2560). สภาพการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิจิตร บุตรสุรินทร์. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริมนต์ ละมุล. (2559). การระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบ้านบุตำบลตาจงอำเภอละหานทรายจังหวัดบุรีรัมย์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์. (2562). การประชุมเชิงปฎิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. กรุงเทพมหาสารคาม: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 17. (2562). รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตาม พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบามสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 17. พิษณุโลก: สำนักงานศึกษาธิการภาค 17
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (2563). แผนงานโครงการงบประมาณปี 2563. อุตรดิตถ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กระทรวงศึกษาธิการ.