แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา บ่อพันขัน ตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สุดาพร อุทธศรี
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 18 คน แล้วนำมาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis)
          ผลการศึกษาประเด็นแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องพิจารณาถึงความพร้อมขององค์กร ตลอดจนปัจจัยที่ช่วยหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดทำแผนงานขึ้นมาเพื่อการดำเนินงาน ทั้งยังมีกระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้า มีการเลือกกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับช่วงเวลาข้างหน้าและกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ การวางแผนทางด้านบุคลากร การวางแผนด้านสถานที่ให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมการท่องเที่ยว และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นในการรักษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้มีความสมบูรณ์ ผลการศึกษาประเด็นวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า ไม่มีปัญหาและอุปสรรคการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพราะเจ้าหน้าที่บุคลากรทุกคนกระทำตามคำสั่งนโยบายกรมการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ทุกคนมีรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่เพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ด้วยความมุ่งมุ่นที่ได้รับมอบหมาย จึงสามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรงเวลา  และผลการศึกษาประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า ควรมีการศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อนำประยุกต์ใช้ในการจัดการ และปฏิบัติตามกฎระเบียบทางราชการเป็นหลัก ดำเนินการประชุมเจ้าหน้าที่บุคลากรอยู่เสมอประจำทุกเดือน เพื่อให้มีการจัดการจัดแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชยุตม์ วะนา และ สิริกร เลิศลัคธนาธาร. (2561). มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี กับความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 13 (2), 85-99.

ภูวเดช สินทับศาล และ พระครูสุธี คัมภีรญาณ. (2561). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243798.

วรรณพร วณิชชานุกร. (2540). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : Ecotourism. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วรรณศิกา จันทร์ตรี และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2561). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มทร. อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (1), 116-132

วสันต์ จันทร์ประสิทธิ์. (2562). การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิยาลัยศิลปกร. 39 (6), 104-125.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัจจา ไกรศรรัตน. (2555). วัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรีในบริบทของการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเทียวไทยนานาชาติ. 8 (2), 19-32.

สุพัตรา คงขำ และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https:// www. so05.tci-thaijo.org.

อมราพร พรพงษ์. (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ. วิทยาลัยชุมชนระนอง: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.