การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยบทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1.) เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2.) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ก่อน – หลัง เรียน 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ คัดเลือกโดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนผ่านเว็บวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนผ่านเว็บวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 แผน รวม 10 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ แบบวัดเจตคติ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยคะแนนค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบพื้นฐาน การทดสอบ t-test ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทเรียนผ่านเว็บวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.60/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/ 80
2. ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. เจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเว็บ (Web Based Instruction WBI) วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ปรากฏว่าผู้เรียนมีทัศนคติทางบวก อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ขจรศักดิ์ มาสะอาด. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องเอกภพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 16 (2),
- 47
จิรารัตน์ ประยูรวงษ์. (2560). DIGITAL LEARNING การเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University. 13 (1), 210-223
นวรัตน์ รามสูต. (2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 461/2559 รมช.ศธ.ปาฐกถาเรื่อง Education Reform & Entrance 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://www. moe.go.th/websm/2016/
พาสนา จุลรัตน. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0 Learning Management For Students in the Thailand 4.0 Era. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(2), 2363-2380.
มธุรส เรืองสมบัติ. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบทีมแข่งขันที่ส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 . วันที่ 20 สิงหาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ลักษ์ณภา แก้วคำแจ้ง. (2561). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่องการ สร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา
ลัดดาวรรณ ศรีฉิม. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ ด้วยโปรแกรม Google Site ตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 10 (1), 129-144
วัศพล โอภาสวัฒนกุล. (2563). เน้นไวยากรณ์ สอนเพื่อท่องจำมากกว่านำไปใช้ ปัญหาการสอน ภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://thematter.co/social /education/english-learning-in-thailand/112152
อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 English Teaching In the 21st Century. วารสารสถาบันวิจัยญาณสงวร. 7 (2), 303-314.
Khan, Badrul H (1997). Web-Based Instruction. Englewood Cliffs, New Jersey: Educational Technology Publications
Tatana M. Olson (2002). The Effectiveness of Web-Based Instruction. International Review of Research in Open and Distance Learning Purdue University. 3 (2),1-17